วัสดุทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพาราสำหรับการเพาะเห็ด
โดยการใช้กากตะกอนจากโรงงานอ้อยเพาะเห็ด ผลิตอ้อยที่ต้องถูกส่งเข้าโรงงานผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อย จะมีวัสดุเหลือทิ้งจากหม้อกรอง นั่นก็คือ กากอ้อย หรือที่เรียกว่า ฟิลเตอร์เค้กเทคนิคที่ได้จากการวิจัยของสถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ในการนำกากอ้อยจากหม้อกรอง มาใช้ทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงและเริ่มหายาก เพื่อนำไปเพาะเห็ด ส่วนจะนำมาใช้อย่างไร
นักวิชาการ ได้วิจัยแล้วว่ากากอ้อย มีปริมาณธาตุอาหารพืช และค่าคาร์บอน ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะได้ดี โดยแนะนำให้ใช้เพาะเห็ดเมืองร้อน ได้แก่ เห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรม โดยจะปรับส่วนผสมใหม่ จากเดิมที่เกษตรกรทั่วไปจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ให้เหลือไม่เกิน 75 เปอร์เซ็นต์ แล้วผสมกากอ้อยจากหม้อกรองลงไป 25-50 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นผสมกับส่วนผสมอื่นตามสูตรปกติ เช่น ถ้าต้องการวัสดุเพาะเห็ด 100 กิโลกรัม จะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม กากอ้อยจากหม้อกรอง 25 กิโลกรัม ผสมกับรำละเอียด 7 กิโลกรัม ยิปซัม และปูนขาว อย่างละ 1 กิโลกรัม ดีเกลืออีก 2 ขีด คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน รดน้ำเพื่อปรับความชื้นให้อยู่ที่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในถุงสำหรับทำก้อนเห็ด บรรจุถุงละประมาณ 1 กิโลกรัม จากนั้นทำตามขั้นตอนเดียวกับการเพาะเห็ดเมืองร้อนทั่วไป คือนำไปนึ่งฆ่าเชื้อโรค หยอดเชื้อเห็ดลงไปแล้วเข้าโรงบ่มก้อนเชื้อ จนกระทั่งเส้นใยเห็ดเจริญเต็มก้อน ก็ไปเข้าไปในโรงเรือนเปิดดอกได้ จากงานวิจัยพบว่า ผลผลิตเห็ดเพิ่มขึ้นกว่าการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราอย่างเดียวประมาณ 1.5 เท่า และยังช่วยยืดเวลาเก็บดอกเห็ดได้นานขึ้น
ถ้าในพื้นที่มีวัตถุดิบกากอ้อยอยู่แล้ว จะช่วยลดต้นทุนค่าวัสดุเพาะเห็ดลงได้ขั้นต่ำก้อนละ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่นักวิชาการ แนะนำว่าไม่ควรใช้กากอ้อยเป็นวัสดุเพาะอย่างเดียว เพราะธาตุอาหารอาจจะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ทำให้ได้ผลผลิตลดลงได้
ที่มา:ตามทันเกษตร ช่อง7
....................................................................................................................................................................
ปัจจัยสำคัญในการเพาะเห็ด
1.ธาตุอาหารของเห็ด
2.ความเป็น กรด-ด่าง เห็ดชอบความเป็นกลาง(pH7) หรือเป็นกรดเล็กน้อย3.อากาศ : คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ในระยะที่เห็ดพัฒนาเป็นดอก หากโรงเรือนมี Co2 สูงก็จะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติได้ ดังนั้น โรงเรือนเพาะเห็ดควรดูแลให้มีอากาศถ่ายเท ซึ่งจะช่วยให้ดอกเห็ดเจริญไปเป็นดอกที่สมบูรณ์ได้
4.ความชื้น จึงจาเป็นต้องเปิดก้อนเชื้อภายในโรงเรือนที่เก็บความชื้นได้ และรักษาระดับความชื้นในอากาศให้อยู่ในระดับ 70-80 เปอร์เซ็นต์
5.อุณหภูมิ มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดมาก
6.แสง มีผลต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของดอกเห็ดมาก เนื่องจากแสงสว่างจะช่วยกระตุ้นการรวมตัวของเส้นใย และพัฒนากลายเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์
อาหารของเห็ด
เห็ดเป็นพืชราไม่สามารถสังเคราะห์แสง อาหารและพลังงานของเห็ดที่ใช้ในการเจริญเติบโตจะได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่ได้มาจากซากพืชอาหารที่เห็ดได้คือน้ำตาลในรูปน้ำตาลกลูโคส เซลลูโลส แป้ง โปรตีน และธาตุอาหารอื่นๆ ตัวอย่างวัสดุที่ใช้เพาะเห็ด ได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา, ขี้เลื่อยไม้มะพร้าว, หญ้าแฝกสับละเอียด หรือขี้ไม้เนื้ออ่อนรำละเอียด, รำข้าวสาลี, ใบกระถิน, ส่าเหล้า,ยิปซั่ม,น้ำตาลทรายแดง,ปูนขาว, ดีเกลือน้าหมักสาหร่ายทะเล, ฟางข้าว,ฟางข้าวโอ๊ต, ฟางข้าวไรน์, ฟางข้าว, บาร์เลย์, ทะลายปาล์ม, เฟิร์น, หญ้า, ผักตบชวา, เปลือกมันสำปะหลัง เปลือกถั่วเขียว, หรือถั่วเหลือง, เศษฝ้าย
1. สารที่เป็นแหล่งคาร์บอน (carbon source)
หมายถึง สารประกอบที่มีคาร์บอนอยู่ได้แก่ น้ำตาลต่างๆ เช่น กลูโคส ฟรุคโตส เซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานวัสดุที่เป็นแหล่งคาร์บอน ได้แก่ ฟางข้าว ฟางข้าวโอ๊ต ฟางข้าวไรน์ ฟางข้าว บาร์เลย์ ขี้เลื่อย นอกจากนี้ยังมีการใช้เศษวัสดุเหลือจากการเกษตรอื่นๆ เช่น ทะลายปาล์ม เฟิร์น หญ้า ผักตบชวา เปลือกมันสำปะหลัง เปลือกถั่วเขียว หรือถั่วเหลือง
เศษฝ้าย ปุ๋ยหมัก
2. สารประกอบที่เป็นแหล่งไนโตรเจน (nitrogen source)
หมายถึง สารประกอบที่มีไนโตรเจนอยู่ด้วย เช่น โปรตีน กรดอะมิโน เกลือของแอมโมเนียม เห็ดต้องการไนโตรเจนใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนวัสดุที่เป็นแหล่งไนโตรเจน จำพวกมูล ม้า, วัว, ควาย, ไก่,ใบกระถิน, ส่าเหล้า, เปลือกถั่วเขียว, หรือถั่วเหลือง, รำข้าว
- รำข้าว โปรตีน 12 %
- กากเบียร์ โปรตีน 29.45%
- ส่าเหล้า โปรตีน 26-32%
- ใบกระถิน โปรตีน 14-22%
- กากถั่วเหลือง จากร้านนมเต้าหู้ โปรตีน 40-45%
3. ธาตุอาหาร (nutrient)
เห็ดจะใช้ธาตุอาหารในการเจริญเติบโตทุกระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจริญของเส้นใย ธาตุอาหารเหล่านี้ได้แก่ Ca P K และ Mg ยิปซัม (CaSo4.2H2O) หรือหินปูน (CaCo3) เป็นแหล่งของ Ca แคลเซียม
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นแหล่งของ
P (ในรูปของ calcium superphosphate 30 g.)
K (ในรูปของ potassium sulfate 15 g.)
ดีเกลือ (MgSO4) เพื่อให้เป็นแหล่งของ Mg
กากอ้อยใช้เพราะเห็ดฟางได้ไหมครับ
ตอบลบ