เมื่อกงล้อแห่งการพึ่งตนเองหมุนครบรอบเมื่อใด ปฐมบทแห่งความพอเพียงก็จะบังเกิดขึ้น
ตัวอย่าง เมื่อเราทำนาปลูกข้าวได้เป็นข้าวเปลือกอาจขายข้าวเปลือก หรือสีเป็นข้าวสารไว้กินไว้ขาย หลังจากนั้นเราก็นำฟางข้าวในนาและลำข้าวจากโรงสี มาเพาะเห็ดหรือเลี้ยงเป็ดได้เป็นดอกเห็ดไข่เป็ดไว้ขายหรือกิน จากนั้นก้อนเห็ดเก่ากับขี้เป็ดก็จะนำไปทำปุ๋ย เพื่อขายหรือใส่นาข้าว หรือพืชอื่นๆ เป็นวงจรแห่งการพึงพาไม่รู้จบเกิดผลกำไรจากการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนตลอดไป
จากกงล้อแห่งการพึ่งตัวเองสามารถตอบคำถามว่าชาวนาส่วนใหญ่ที่ทำนาทำไมถึงได้จนลงๆ? คำตอบ คือชาวนาส่วนใหญ่ทำแค่เฟืองตัวเดียวของกงล้อคือแค่ทำนาแล้วขายข้าวเปลือก ฟางข้าวก็เผาทิ้ง ปุ๋ยก็ซื้อ ทำให้ไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ ยิ่งทำยิ่งขาดทุน สุดท้ายอาจต้องขายที่นาเพื่อนำเงินไปลงทุนอย่างอื่น การลงทุนในธุรกิจที่ต้องพึ่งทรัพยากรหรือวัตถุดิบ (raw material) จากภายนอก (supplier) ธุรกิจก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะไปไม่รอด อันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ หรือวัตถุดิบอาจมีราคาสูงขึ้น พออยากกลับบ้านทำนา ทำสวนก็ไม่เหลือนาให้ทำเพราะขายไปแล้ว สุดท้ายก็เป็นลูกจ้างจนวันตาย
อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างในการบริหารจัดการที่สามารถนำไปประยุคได้กับทุกธุรกิจ ลองตั้งคำถามเล่นๆ ว่าธุรกิจเราอยู่ได้ด้วยวัตถุดิบหลักอะไร แล้วจะทำอย่างไรหากไม่มีวัตถุดิบนั้นส่งให้เรา เมื่อเราต้องจัดหาให้มีต้องทำอย่างไรให้มีอยู่ตลอดไปเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continulity Management).....ขอบคุณครับ